วันศุกร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การปาดเนื้อ ด้วยโปรแกรม Kara Cursor



   ก่อนอื่นก็ขอบอกก่อนนะครับผมทำบทความนี้ขึ้นมา ตามความเข้าใจของผมเองและสามารถใช้งานได้จริง
จึงอยากบอกต่อเพื่อนๆสมาชิกชาว www.mayonnaise-club.com นี่เป็นอีกวิธีหนึ่งจากหลายวิธีการใช้งานโปรแกรม
Kara Cursor  ดังนั้น หากผิดพลาดประการใดก็ขอภัยมา ณ.ที่นี้ด้วยครับ


ที่มาของ Software เครดิตท่าน Si@m REc แต่ไม่รู้ใครเป็นเจ้าของครับ
    ยังไงๆก็ขอบคุณเจ้าของโปรแกรมดีๆแบบนี้ก็แล้วกันนะครับ



รายละเอียดของโปรแกรม Kara Cursor
   โปรแกรมนี้จะทำงานโดยใช้ไฟล์สามไฟล์ตัวประกอบกันไฟล์แรกที่เป็นไฟล์หลักของโปรแกรม
คือ .CUR คือไฟล์ที่เก็บ Cursors ของเพลง Karaoke ไว้ ตัวที่สองคือ .LYR คือไฟล์ที่เก็บเนื้อร้องของเพลงไว้
และตัวที่สามคือ .MID หรือ .MP3 เป็นดนตรีที่ใช้เล่นซึ่งตัวที่สามนี้โปรแกรมไม่สามารถแก้ไขได้
   เราสามารถเปิด .CUR แล้วโปรแกรมจะไปค้นหา .LYR และ .MID(.MP3) ใน Foldor เดียวกันหรือถ้าไม่เจอ
ก็จะไปค้นหาใน ..\LYRICS\####\.LRY และ ..\SONG\####\.MID(.MP3) (ถ้าไฟล้ .CUR อยู่ใน /CURSOR/####/.CUR)
เองอัตโนมัติ ถ้าหาไม่เจอเราสามารถที่จะใช้คำสั่ง Import ในเมนู File หรือลากไฟล์จาก Explore มาใส่ใน Windows ของโปรแกรมได้
ถ้า Path ของไฟล์ทั้งสองไม่ได้อยู่ในที่ที่สามารถเปิดได้อัตโนมัติโปรแกรมจะเก็บ Path เอาไว้ในไฟล์ .KFL ใน Folder เดียวกัน
กับ .CUR เมื่อเรากลับมาเปิด .CUR ตัวนี้โปรแกรมก็จะไปเปิดไฟล์ทั้งสองตาม Path จากไฟล์ .KFL มาให้โดยอัตโนมัติ
   ในไฟล์ .LRY บรรทัดแรกจะเป็นชื่อเพลง บรรทัดที่สองเป็นชื่อศิลปิน บรรทัดที่สามเป็นคีย์ของเพลง บรรทัดที่สี่เป็นชื่อผู้แต่งเพลง
และตั้งแต่บรรทัดที่ห้าเป็นต้นไปเป็นเนื้อเพลง


สร้าง Cursors ใหม่
   ใน กรณีที่เราต้องการสร้าง Cursors ของเพลงใหม่ เริ่มต้นด้วยใช้คำสั่ง New ในเมนู File แล้วก็ Import .LYR (ถ้าไม่มีสามารถใช้คำสั่ง Edit Lyrics… สร้างขึ้นมาใหม่ได้เลย) และ .MID(.MP3) และก็เริ่มสร้าง Cursors ของเพลงนี้ได้เลย

เริ่มแก้ไข Cursors
   เมื่อ เรา Import ทั้ง .LYR และ .MID(.MP3) เรียบร้อยแล้วก็สามารถเริ่มแก้ไขได้โดยใช้คำสั่ง Edit Cursor ในเมนู Options หรือใช้กด Space bar โปรแกรมก็จะเริ่มเล่นดนตรี เราก็คลิกเมาส์ซ้ายค้างไว้แล้วก็ลาก Cursor ใน View ก็จะวิ่งตามที่เราลากจนหมดบรรทัด ถ้าหมดบรรทัดแล้วต้องการไปบรรทัดต่อไปก็ให้กด Space bar Cursor ก็จะไปเริ่มต้นในบรรทัดต่อไปทำแบบนี้ไปจนจบเนื้อร้องก็จะได้ Cursor ที่วิ่งไปตามที่เราลากเมาส์ไว้ ถ้าต้องการหยุดการแก้ไขก็สามารถกด Esc โปรแกรมก็จะหยุดเพลงและหยุดการแก้ไข

คำสั่งต่างๆของโปรแกรม Kara Cursor




Seek Cursor & Time
   คุณสามารถที่จะใช้ Trackbar ในการ Seek หาตำแหน่งของ Cursor ในเนื้อร้อง ณ ตำแหน่งเวลาที่ Trackbar อยู่
หรือใช้เมาส์คลิกไปที่ตัวเนื้อร้องเพื่อ Seek ไปหาเวลา ณ ที่เนื้อร้องที่เราคลิกได้เลย

Speed
   ใช้คำสั่ง Speed +, Normal Speed และ Speed – เพื่อปรับความเร็วของ MIDI ให้เร็วขึ้น, เร็วปกติและช้าลงตามลำดับ
แต่ไม่สามารถใช้ได้กับ MP3

Key
   Space bar – เริ่ม Edit เล่นเพลง / เริ่ม Edit บรรทัดต่อไป
   Esc – หยุด Edit หยุดเพลง
   Enter – เล่นเพลงและแสดงการวิ่งของ Cursor

Options
   คุณสามารถที่จะแก้ไข Font, และขนาดของ Font, สี และความเร็วการลาก Cursor ตอน Edit Cursor ได้
โดยใช้คำสั่ง Options ในเมนู Options



การเตรียมไฟล์เพลงและเนื้อเพลง

(รูปนี้ได้ถูกย่อลงมา โปรดคลิ้กที่นี่ เพื่อดูรูปนี้ในขนาดจริง)



ถ้าพร้อมแล้วเริ่มลงมือกันเลยครับ







(รูปนี้ได้ถูกย่อลงมา โปรดคลิ้กที่นี่ เพื่อดูรูปนี้ในขนาดจริง)





















  ลองทำกันดูนะครับ...ความชำนาญนั้น อยู่ที่การฝึกฝนบ่อยๆครับ

7 ความคิดเห็น:

  1. KARA CURSOR
    ปาดเนื้อเพลง บางเพลงทำในโปรแกรมแล้วจังหวะดนตรี จะช้าลง...
    เคอร์เซอร์ก็จะไมjตรงกับห้องดนตรี...

    ใช้งานใน Windows XP
    ****เกิดจากปัญหาอะไรครับ และมีวิธีแก้ไขอย่างไร

    ตอบลบ
  2. ถ้าจะให้ดีใส่ลิ้งโหลดด้วยซิครับท่าน

    ตอบลบ
  3. ถ้าmidiเพลงไหนมีความเร็วไม่คงที่เสมอกันจะปาดไม่ตรงครับทำให้ความเร็วเสมอกันทั้งเพลงแล้วจึงปาดครับ

    ตอบลบ
  4. ขอโปรแกรม kara cursor คะ

    ตอบลบ
  5. ดาวโหลดได้ที่ไหนครับ

    ตอบลบ